วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552

บันทึกการเข้าเรียน วันที่3 ธันวาคม 2551

สำหรับการเรียนวิชาการจัดประสบการร์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยได้ดังนี้
- อาจารย์ทบทวนความรู้เดิมที่ได้เรียนในอาทิตย์ที่แล้ว และเนื้อหาที่พวกเราได้เรียนในวันนี้พอที่จะสรุปได้ดังนี้
กระบวนการเรียน
บรรยากาศการเรียน มีลักษณะของการร่วมมือกันระหว่างครูและเด็กๆ ตั้งแต่การวางแผน คือ คิดด้วยกันว่าจะทำอะไร ทำเมื่อไร ทำอย่างไร จำเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์อะไร จะหาสิ่งที่ต้องการมาไดอย่างไร
การวางแผนจะมีทั้งระยะยาว( long- range plans) เพื่อวางกรอบความคิดกว้าง
การวางแผนระยะสั้น(shot- range plans) โดยเด็กและครูจะใช้ความคิดพูดคุยปรึกษากันเพื่อหารายละเอียดและขั้นตอนในการทำกิจกรรม
การฟังและพูดของเด็ก
เด็กมีโอกาสได้ยินเสียงแม้ว่ายังพูดไม่ได้
เด็กเกิดการเรียนรู้ภาษาพูดเพราะการสอนเด็กใหพูดนั้นเด็กจำเป็นต้องได้ยิน ได้ฟังภาษาพูดก่อน ยิ่งได้ฟังมากจะเข้าใจชัดเจนขึ้น
เด็กวัย 2-3 ขวบการพูดของแม่จะช่วยให้ลูกมีพพัฒนาการทางภาษาที่ดี การสนทนา การวักถาม เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันเป็นสิ่งที่จำเป็นในการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ในด้านการเข้าใจความหมายของภาษาจากเรื่องง่าไปหาเรื่องที่ยากและสลับซับซ้อนมากขึ้น
ภาษามีบทบาทในการสื่อสารความคิดรวมไปถึงจินตนาการ เพื่อตอบสนองความต้องการของตนได้เป็นอย่างดี
การอ่านและเขียนของเด็ก
การอ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกวันเป็นสิ่งจำเป็นในการให้โอกาสเด็กเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเขียน ขณะที่อ่านควรชี้นิ้วตามตัวหนังสือไปด้วย ทำให้เด็กเรียนรู้กฏเกณฑ์ทุกขั้นตอน สิ่งที่สำคัญคือ การให้เด็กเรียนรู้ที่จะเข้าใจประเด็นในเรื่องท่อ่านว่าสิ่งที่ประกอบกันขึ้นคือรวมทั้งหมดที่เป็นเนื้อหาที่นำเสนอระบบการคิดผ่านไวยากรณ์ของภาษา
ควรสนทนากับเด็กเกี่ยวกับกฏเกณฑ์ทางภาษาอย่างง่ายๆ เนื้อหาที่อ่านควรสัมพันธ์กับสิ่งๆรอบตัว และพยายามเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมของเด็กตลอดเวลาเพื่อให้เห็นประโยชน์จึงกล่าวได้ว่า การเขียน หมายถึง การสื่อสารเพื่อแสดงความคิดความรู้สึกออกมาอย่างความหมาย
การเขียนและการอ่านจะดำเนินการไปพร้อมกัน เนื่องจากการเป็นนักเขียนที่ดีนั้นต้องอาศัยการอ่านที่แตกฉานในเรื่องนั้นๆ ส่วนการฝึกฝนให้เด็กเขียนหนังสือนั้น ครูต้องตระหนักว่าการฝึกเขียรที่ให้ลอกเลียนแบบโดยเด็กไม่ได้ใช้ความคิดเเตเป็นการฝึกกล้ามเนื้อมือหรือฝึกเฉพาะความสวยงามของลายมือแตกต่างโดยสิ้นเชิงกัการเขียนที่มาจากความคิด
ภาษาที่ได้จากกาฝึกคิดและการถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นภาษาสัญลักษณ์ คือ ตัวอัการอย่างธรรมชาติจากการฟังมากได้อ่านมาก จนสามารถถ่ายทอดเองได้ และมาฝึกฝนความถูกต้อง สวยงามภายหลัง่วนการอ่านนั้นสามารถทำได้ตลอดเวลาด้วยการอ่านจากหนังสือ ถนน สิ่งรอบตัว
ความรู้ของเด็กจะเพิ่มพูนขึ้นเมื่อเด็กได้รับโอกาสในการทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการอ่านร่วมกับผู้ใหญ่ และกิจกรรมที่จัดให้เด็กให้อ่านเงียบๆตามลำพัง การอ่านกับเพื่อนเป็นคู่ เป็นกลุ่มย่อย เพื่ออภิปรายร่วมกัน ในการกรรับฟังและการตรวจสอบความคิดความเข้าใจซึ่งกันและกันโดยเฉพาะการอ่านจากสิ่งที่รู-เด็กเยนร่วมกัน หรือสิ่งที่เด็กเขียนขึ้นเอง
ลักษณะสำคัญและกิจกรรมทงภาษาแบบองค์รวม
อ่าน-เขียน
- เน้นความเข้าใจเเน้อเรื่องมากกว่าการท่องจำตัวหนังสือผ่านการฟังนิทาน เรื่องราวสนทนาโต้ตอบ คิดวิเคราะห์ร่วมกับครูหรือผู้ใหญ่
- การคาดคะเนโดยการเดาในขระเขียน อ่าน และสะกด เป็นสิ่งที่ได้รับในการเรียนรู้ภาษาธรมชาติโดยไม่จำเป็นต้องอ่านหรือสะกดถุดฃกต้องทั้งหมด
ในการเรียนในวันนี้ก้พอที่จะสรุปได้เพียงเท่านี้ และนอกจากเรียนเนื้อหาในเรื่องนี้แล้วอาจารยืยังมีการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และประสบการณืต่างๆที่อาจารย์ได้ประสบพบเจอมาให้ได้ฟังิด้วยเช่น
สื่อที่นำเข้าสู่บทเรียน
- เพลง
- คำถาม
- คำคล้องจอง
- นิทาน
- เกม
- อื่นๆ

ไม่มีความคิดเห็น: